ผลงาน
พ.ศ. ๒๔๕๙ - ๒๔๘๔
พ.ศ. ๒๔๕๙ - ๒๔๗๙ ได้ช่วยเหลือในการปกครอง และเป็นกำลังสำคัญในการช่วยสร้างกุฏิ อุโบสถ กำแพงวัด(ได้รื้อไปหมดแล้ว) และขยายที่ดินวัดถิ่นใน
พ.ศ. ๒๔๘๐ เป็นประธานดำเนินการสร้างอาคารเรียน ๒ ชั้น ของโรงเรียนวัดบ้านถิ่น ขนาดกว้าง ๘.๕๐ เมตร ยาว ๒๔ เมตร ( อาคารหลังแรกปัจจุบันรื้อถอนไปแล้ว)
พ.ศ. ๒๔๘๒ เป็นประธานเปิดป้ายชื่อใหม่ โรงเรียนประถมศึกษาประจำตำบลบ้านถิ่น จากโรงเรียนวัดบ้านถิ่น เป็น " โรงเรียนบ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร)"
พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นประธานดำเนินการสร้างอาคาร ๒ ชั้น ของ โรงเรียนปริยัติธรรมวัดถิ่นในเป็นประธานร่วมกับพระอธิการตุ๋น เจ้าอาวาสวัดถิ่นนอก ย้ายสุสานจากเขตหมู่ ๒ ไปตั้งที่เขตพื้นที่ของหมู่ที่ ๓ (สุสานบ้านถิ่นในปัจจุบัน)
พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๙๗
พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็นประธานสร้างศาลาวัดถิ่นใน (รื้อถอนไปแล้ว)
พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นประธานสร้างสะพานข้ามห้วย "ฮ่องฮ่าง" (ขัวยาว) กว้าง ๔ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ในเขตหมู่ ๓ (ปัจจุบันได้รื้อถอนไปแล้ว)
พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นประธานทำบุญฉลองเปิดป้าย " โรงเรียนปริยัติธรรมโอภาสธรรมากร "\วัดถิ่นใน ( รื้อถอนไปแล้ว )
พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นประธานดำเนินการสร้างอาคารเรียนชั้นเดียว โรงเรียนบ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร) ขนาด กว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๒ เมตร
พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นประธานร่วมกับพระอธิการตุ๋น สร้างกุฎิวัดถิ่นนอก ( รื้อถอนไปแล้ว )
พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นประธานดำเนินการสร้างกุฎิวัดถิ่นใน ลักษณะเป็นตึก ๒ ชั้น จำนวน ๓ หลัง จนปรากฏมาจนถึงปัจจุบันนี้
พ.ศ. ๒๔๙๘ - ๒๕๐๒
พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นประธานนำราษฎรตัดถนน จาก หมู่ ๑ ไปยัง หมู่ ๒
พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นประธานร่วมกับ นายชุณห์ นกแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และราษฎรชาวบ้านถิ่น-น้ำชำ ตัดถนนจาก บ้านถิ่น ไป บ้านน้ำชำ ระยะทาง ยาว ประมาณ ๗ กิโลเมตร ทำพิธีเปิดเป็นทางสัญจรได้ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน
พุทธศักราช ๒๕๐๑ ให้ชื่อว่า " ถนนโอภาสชุณหราษฎร์วิถี "
พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็นประธานจัดหาที่ดิน จำนวน ๑๙ ไร่ โดยการสละทรัพย์ส่วนตัวซื้อที่ดินชักชวนชาวบ้านร่วมสมทบสร้างศาลาประชาคม ๑ หลังและบ้านพักพัฒนากรอีก ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๐๒ ร่วมกับปลัดพัฒนากรและชาวบ้าน สร้างสถานีอนามัย ๒ ชั้น จำนวน ๑ หลัง ในที่ดินที่จัดหาไว้ได้รับบริจาคทุนสร้างจากบริษัทป่าไม้แพร่ จำนวน ๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๐๗
พ.ศ. ๒๕๐๔ ร่วมกับ นายแกล้ว วิทยศิริ ศึกษาธิการอำเภอเมืองแพร่ และได้สละเงินส่วนตัวจำนวน ๔,๐๑๖ บาท ซื้อที่ดินเพิ่มอีก ๓ ไร่ ๓ งาน และอุปกรณ์ก่อสร้างอาคารเรียน ลักษณะตึกชั้นเดียว กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๕๔ เมตร
พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นประธานสร้างศาลาพิธีกรรมสุสานบ้านถิ่น (รื้อถอนไปแล้ว) และ ช่วยสร้างอุโบสถวัดโป่งศรี (รื้อถอนไปแล้ว )
พ.ศ. ๒๕๐๗ ช่วยสร้างอุโบสถวัดถิ่นนอก(รื้อถอนไปแล้ว) และ วันที่ ๒ เมษายน เป็นประธานเปิดป้ายชื่อโรงเรียนประถมศึกษาตอนปลาย " โรงเรียนบ้านถิ่น (โอภาสประชา- สงเคราะห์)" คือ " โรงเรียนถิ่นโอภาสวิทยา" ในปัจจุบัน